top of page

ระบบทัศนศาสตร์ของระบบลำเลียงแสง

การนำลำแสงซินโครตรอนออกมายังปลายสถานีทดลองที่ 4.1 นั้น เริ่มต้นด้วยแสงซินโครตรอนถูกปล่อยออกมาจากกลุ่มอิเล็กตรอนที่วิ่งด้วยความเร็วสูงใกล้ความเร็วแสง ซึ่งถูกบังคับเลี้ยวโดยแม่เหล็กเลี้ยวสองขั้ว (Bending magnet) ภายในวงกักเก็บอิเล็กตรอนของ SPS-I ออกผ่านช่องเปิดแสงของแม่เหล็กสองขั้วดัดแปลง (modified dipole chamber) โดยช่องเปิดแสงมีขนาดเท่ากับ H70 x V20 mrad^2

ภายในผนังกำแพงของวงกักเก็บอิเล็กตรอน แสงซินโครตรอนที่ประกอบด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นหลากหลายตั้งแต่แสงอินฟราเรด แสงที่มองเห็นด้วยตา จนถึงแสงเอกซเรย์ จะกระทบกับกระจกบานแรกที่มีช่องลอดผ่านตรงกลางสำหรับปล่อยให้แสงเอกซเรย์ที่ไม่ต้องการใช้งานทะลุผ่านออกไป ซึ่งกระจกนั้นถูกวางในแนวระนาบที่ทำมุม 45° กับแนวแสงซินโครตรอนเพื่อคัดกรองแสงซินโครตรอนในย่านแสงอินฟราเรดย่านไกล (Far infrared), อินฟราเรดย่านกลาง (Mid infrared), อินฟราเรดย่านใกล้ (Near infrared) และแสงที่มองเห็นด้วยตา ส่วนกระจกบานที่ 2 และ 3 เป็นรูปทรงกระบอก สำหรับโฟกัสลำแสงในแนวนอนและแนวตั้งตามลำดับ จากนั้นกระจกบานที่ 4 จะทำหน้าที่ส่งลำแสงผ่านท่อออกจากผนังคอนกรีตเสริมตะกั่วของวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอน หลังจากนั้นกลุ่มกระจกบานที่ 5 - 9 (M5 – M9 chamber) จะทำหน้าที่ปรับแนวของแสงและทำให้แสงขนาน ก่อนแสงเข้าภายในสเปกโตรมิเตอร์ จะถูกปรับขนาดให้เล็กในระดับมิลลิเมตรด้วยกล่องกระจกเชื่อมต่อ (Matching optical box) 

 

ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 4.1: µ-IR ลำแสงเหล่านี้จะถูกนำเข้าสู่เครื่อง FT-IR Spectrometer รุ่น Vertex 70 และ IR microscope รุ่น Hyperion 2000 ที่เชื่อมต่อกันตามลำดับ เพื่อนำแสงอินฟราเรดย่านกลางที่มีค่า wavenumber เท่ากับ 4000 - 400 cm^(-1)  ซึ่งจะทำการโฟกัสแสงให้มีขนาดเล็กระดับไมครอนและต้องเหมาะสมกับขนาดของตัวอย่างที่ต้องการวัด

BL4-1optical layout.jpg
BL_pano.tiff

สถานีทดลอง

สถานีทดลองที่ 4.1: µ-IR มีเครื่องสเปคโตรมิเตอร์ชนิด FT-IR รุ่น Vertex 70 และเครื่องสเปกโตรสโกปรุ่น Hyperion 2000 ที่เชื่อมต่อกันตามลำดับ โดยมีหัววัดรังสีอินฟราเรดชนิด Mercury cadmium telluriden (MCT) สำหรับการตรวจจับสัญญาณ เมื่อลำแสงอินฟราเรดที่ถูกลดขนาดลำแสงจากกล่องกระจกเชื่อมต่อ (Matching optical box) เข้าไปยังเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ต่อด้วยเครื่องสเปกโตรสโกปที่อยู่เชื่อมถัดไป โดยมีการปรับขนาดแสงอินฟราเรดให้เหมาะสมกับลักษณะของแต่ละตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม OPUS ของ Bruker ซึ่งโปรแกรมนั้นสามารถทำหน้าที่เก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การตรวจสอบผลการวิเคราะห์ รวมทั้งการรายงานผล

 

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้โปรแกรมนั้น สามารถส่งคำขอใช้ได้ทั้งภายในสถานีทดลองด้วยตนเอง หรือระบบออนไลน์ผ่านระบบ VPN

PXL_20240823_063221633_edited.jpg

ประสิทธิภาพของระบบลำเลียงแสง

ประสิทธิภาพของลำแสงอินฟราเรดที่กระทบบนตัวอย่างขึ้นอยู่กับขนาดแสงที่ถูกปรับภายในเครื่อง Hyperion 2000 microscope ซึ่งขนาดแสงอยู่ระหว่าง 5 - 50 ไมครอน ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวอย่าง ดังนั้นทำไมรังสีอินฟราเรดจากแสงซินโครตรอนจึงดีกว่าแสงอินฟราเรดจากหลอดแผ่ความร้อนชนิดอินฟราเรด สำหรับเทคนิคการวัดไมโครสเปกโตรสโกปีด้วยรังสีอินฟราเรด ดังรูปด้านล่าง

20240422_SR_GB_transmission.jpg
20240422_SR_GB_reflect_edited.jpg
ส่วนสเปกโตรสโกปีและเทคนิคภาพทางชีวภาพ-01.jpg
bottom of page